5 ปัจจัยการเลือกซื้อบ้าน

0

สวัสดีค่ะทุกๆคน เมื่อพูดถึงคำว่า “บ้าน” ความหมายของแต่ละคนนั้นอาจจะไม่เหมือนกัน แต่ทางนายช่างมาแชร์ก็เชื่อว่า ความฝันของทุกๆคนคือการมีบ้านในฝันเป็นของตนเอง บ้านที่อบอุ่น บ้านที่มีความสุข บ้านที่อยู่พร้อมหน้ากับคนในครอบครัว จะอยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจเท่ากับอยู่บ้านเราค่ะ บทความในวันนี้นำเสนอเกี่ยวกับ “ปัจจัยในการเลือกซื้อบ้าน” เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้กับใครหลายๆคนก่อนที่จะเลือกซื้อบ้าน

5 ปัจจัยการเลือกซื้อบ้าน

1. งบประมาณ

เป็นข้อคำนึงอันดับต้นๆ ในการที่จะนำเงินของเราไปใช้จ่ายกับอะไรเพื่อให้ได้มาครอบครอง จึงควรพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณ คำนึงถึงความจำเป็น ความสำคัญ กับสิ่งของที่เราได้ลงทุนเทียบกับกำลังในการซื้อ ซึ่งถ้ามีเงินเหลือพอเพียงอาจจะไม่จำเป็นต้องพิจารณาในจุดนี้ แต่คนทั่วไปส่วนใหญ่นั้นเป็นมนุษย์เงินเดือนอาจจะไม่มีเงินสดถึงขั้นที่จ่ายในครั้งเดียว บางส่วนก็ต้องทำการกู้เงินซึ่งในส่วนนี้ก็ไม่ได้จะกู้ผ่านกันทุกคน เนื่องจากธนาคารต้องพิจารณากำลังที่ผู้กู้จะสามารถจ่ายคืนให้กับธนาคาร เช่น ผู้กู้มีหนี้สินอยู่หรือไม่ ของที่จะนำมาค้ำประกันมีราคาเพียงพอกับจำนวนเงินที่ต้องจะกู้หรือไม่ เป็นต้น ผู้กู้เองก็ต้องชาญฉลาดในการกู้ คือ ลองติดต่อสอบถามเปรียบเทียบดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกกู้ให้ได้ประโยชน์กับตนมากที่สุด งบประมาณจึงเป็นปัจจัยแรกที่ต้องพิจารณา เพราะไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆ

2. ประเภทบ้าน/ที่พักอาศัย

อย่างที่ทราบกันว่าสามารถแบ่งได้เป็น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์หรือตึกแถว และอาคารพาณิชย์ ควรคำนึงถึงจุดประสงค์ในการซื้อ ซื้อเพื่อจะเกร็งกำไร เช่า หรือพักอาศัย เพราะแต่ละประเภทจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไป การเลือกบ้านที่เหมาะสม ตรงใจหรือตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้ ย่อมเป็นการนำความสุขมาสู่คนในครอบครัว เพราะทุกๆคนอยากมีบ้านในฝันของตนเอง

3. วัสดุก่อสร้าง

การมีความรู้ในเรื่องของวัสดุโครงสร้างก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหลักของตัวบ้าน คุณสมบัติของสีที่ทาว่าติดทนนานหรือใหม่ ไม่จำเป็นต้องทราบข้อมูลเชิงลึกแต่ควรจะมีความรู้พื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์กับตนเอง ตัวอย่างเช่นวัสดุดังต่อไปนี้

อิฐมอญ  = อิฐที่มีลักษณะสีส้มแดง หรือที่เรามักเรียกกันว่าสีส้มอิฐ เหมาะกับงานก่อสร้างอาคารที่ไม่สูง เช่น บ้านพักอาศัย 1-2 ชั้น มักจะถูกเลือกใช้ในบริเวณที่โดนความชื้น เพราะมีคุณสมบัติเรื่องการทนร้อนทนฝนได้ดี มีความทนทานสูง แข็งแรงปานกลาง-สูง กันความร้อนได้ดีเพราะสะสมความร้อนมากกว่าระบายความร้อ

อิฐบล็อค = ส่วนใหญ่จะมีสีเทา ถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ เพราะมีช่องกลวงตรงกลาง แต่ก็จะทำให้ความแข็งแรงต่ำกว่าอิฐมอญ นิยมใช้กับงานก่อสร้างทั่วไป เหมาะสำหรับงานที่เน้นการคุมค่าใช้จ่าย เพราะราคาถูกและใช้เวลาสร้างเร็วกว่าอิฐมอญ

อิฐมวลเบา = มีน้ำหนักเบากว่าอิฐหลายชนิด เพราะภายในจะมีฟองอากาศเล็กๆ เป็นรูพรุนที่ในเนื้อวัสดุจึงเป็นฉนวนกันความร้อนได้เป็นอย่างดีทำให้ระบายความร้อนได้ดี แต่เนื่องจากมีรูพรุนทำให้ไม่ทนต่อความชื้น จึงไม่เหมาะกับการก่อสร้างในห้องน้ำหรือห้องครัว ตามมาตรฐานอิฐมวลเบาสามารถกันการลามไฟได้นาน ประมาณ 4 ชั่วโมง

อิฐเซรามิกหรืออิฐพันปี = เป็นอิฐที่มีลักษณะสีส้มแดงคล้ายกับอิฐมอญ รูพรุนน้อย มีความแข็งแรงสูงกว่าอิฐมอญ อัตราการดูดซึมน้ำต่ำ ผนังไม่อมน้ำทำให้ลดโอกาสการเกิดปัญหาสีหลุดร่อนและเชื้อราได้ ส่วนเรื่องน้ำหนักและการถ่ายเทความร้อนไม่เหมาะกับการก่อสร้างในอาคารที่มีความสูง ระบายความร้อนได้น้อยเมื่อเทียบกับอิฐมวลเบา

อิฐขาว = เป็นอิฐที่มีส่วนผสมคือ ปูนขาวและทราย คุณสมบัติในการป้องกันความร้อนและป้องกันเสียงได้ดี สามารถลดรอยร้าวในการฉาบได้เพราะมีการดูดซึมน้ำต่ำ มีคุณสมบัติในเรื่องของการทนไฟ สามารถทนไฟได้นานกว่า 4 ชั่วโมง

นอกจากนี้ปัจจุบันยังนิยมใช้พื้นและผนังสำเร็จรูป เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการก่อสร้าง เช่น ระบบ Precast แต่การทุบการเจาะเพื่อการตกแต่งแก้ไขอาจทำได้ยาก

4. พื้นที่ใช้สอย

ขึ้นอยู่กับความต้องการขนาดพื้นที่ใช้สอยของแต่ละสมาชิกในครอบครัว ความแตกต่างของกิจวัตรหรือใช้ชีวิตในชีวิตประจำวัน จัดลำดับความต้องการและความสำคัญของเนื้อที่ ทำการพูดคุยตกลงกับสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้มีความเห็นที่ตรงกัน เข้าใจกัน เมื่ออยู่รวมกันก็จะมีแต่ความสุข

5. ทำเลที่ตั้ง/สภาพแวดล้อม

อ้างอิงจากสมาชิกในครอบครัว เด็ก เด็กนักเรียน ผู้ใหญ่วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ให้คำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ระบบขนส่งสาธารณะ สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ ว่าสามารถตอบโจทย์ให้กับสมาชิกในครอบครัวได้หรือไม่  มีความใกล้ไกลกับที่พักมากน้อยแค่ไหน

นายช่างมาแชร์หวังว่าทุกคนที่เข้ามาศึกษาจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาอ่านบทความและกลับมาพบกับอีกครั้งเร็วๆนี้ค่ะ…สวัสดีค่ะ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่