Europen Green Deal และ CO2 Tax กระทบภาษีภาคส่งออกไทย

0
eugreendeal
eugreendeal


คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในทุกวันนี้ในเรื่องขอวิกฤติทางสภาพแวดล้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นทุกปี หรือน้ำแข็งที่ขั้วโลกมาการละลายมากขึ้นเรื่อยๆ และยังมีปัญหาที่รุนแรงที่เราเห็นในข่าวไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า หรือ ความหนาวเย็นจนขนาดมีผู้เสียชีวิตต่างๆ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสาเหตุมากจาก “มนุษย์”

ทั้งในภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรมต่างๆ อันเกิดจากการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจก หรือ GHG Emission

ดังนั้นในการแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนก็จะมีการกำหนดด้วยข้อกำหนดร่วมกันที่มีความแข็งแรงมากขึ้นผ่านการตั้งเป้าหมายด้าน Net Zero Carbon จากกลุ่มของผู้นำของโลก อย่างกลุ่มสหภาพยุโรป หรือ EU

ในการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อผลักดันให้ยุโรปเป็น “The world’s first climate-neutral continent” ภายในปี ค.ศ. 2050 ผ่านแผน “European Green Deal”

เป้าหมาย คือ ทุกประเทศจะช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อทำให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2.0 องศาเซลเซียส ภายในศตวรรษนี้ และในปี 2050 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือที่เรียกว่า “Net Zero”

European Green deal คืออะไร?

ในเดือน ก.ค. 2021 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) จึงมีแผนการทำงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว และเกิดเป็น “European Green Deal” หรือมาตรการลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงร้อยละ 55 ในปี 2030 หรือ Fit for 55 Package ซึ่งเป็นร่างกฎหมายเพื่อรับรองเรื่อง

  • การปรับปรุงสิทธิการซื้อขายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การส่งเสริมการคมนาคมสีเขียวทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ
  • การกำหนดอัตราภาษีธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การกำหนดสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน
  • การตั้งเป้าหมายการดูดซับก๊าซเรือนกระจก
  • และการออกมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป  คือการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป European Union (EU)

ที่น่าสนใจสำหรับภาคอุตสาหกรรม คือ การที่ยุโรปมีแผนจะเก็บภาษีคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก หรือ CARBON BORDER ADJUSTMENT MECHANISM: CBAM

ดังนั้นด้วยนโยบายนี้ส่งผล “กระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่มีการส่งสินค้าที่มีการผลิต CO2” โดยตรงที่ไปจำหน่ายใน EU

มาทำความรู้จัก CBAM และการเตรียมความพร้อมของไทย

โดยแต่ละกลุ่มสินค้าจะมีข้อกำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และวิธีการเรียกเก็บค่าคาร์บอน ได้แก่

(1) บริการไฟฟ้า (2) ซีเมนต์ (3) ปุ๋ย (4) เหล็กและเหล็กกล้า (5) อะลูมิเนียม

ระเบียบของ “CBAM เริ่มบังคับใช้เต็มที่ในวันที่ 1 มกราคม 2569″ และจะมีกลุ่มสินค้าอื่นๆ ถูกพิจารณาตามระเบียบของ CBAM เพิ่มขึ้น โดยระหว่างนี้ภาคเอกชนไทยต้องเตรียมพร้อมทั้งการขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมธิการยุโรปภายใต้ CBAM การซื้อขายคาร์บอน การรายงานและการตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรายงานการจ่ายค่าคาร์บอนสินค้านำเข้าและส่งออก เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจไทย

สำหรับ สารเคมี สารปิโตรเคมี ต่างๆ จะขยายผลในปี พ.ศ. 2569 ต่อไป 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากทาง https://www.setsustainability.com , FBpage : อ่านแล้วGET

#นายช่างมาแชร์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่