Kamov Ka-32 เฮริคอปเตอร์กู้ภัยที่โรงงานผลิตโฟมที่เกิดเหตุไฟไหม้

0
Kamov Ka-32 เฮริคอปเตอร์กู้ภัย
Kamov Ka-32 เฮริคอปเตอร์กู้ภัย

จากเหตุการณ์ไฟไหม้และเหตุระเบิดที่โรงงานหมิงตี้เคมิคอลที่ซอยกิ่งแก้ว21 เราจะเห็นเฮลิคอปเตอร์ลำนึงที่มาโปรยสารเคมีดับเพลิงไประงับเหตุ วันนี้ทางเพจนายช่างมาแชร์ก็จะมาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับเฮริคอปเตอร์รุ่นนี้กันนะครับ

รู้จักกับเฮลิคอปเตอร์ Kamov Ka-32 จากเฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือดำน้ำสู่เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยสัญชาติรัสเซีย

เฮริคอปเตอร์ Kamov Ka-32 รุ่น “The Guardian” ผลิตโดยบริษัท JSC Kamov ที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 80 ปี ปัจจุบันอยู่ภายใต้กลุ่มบริษัท Russian Helicopters สำหรับเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ มีพื้นฐานมาจากรุ่น Ka-27 ที่เริ่มเข้าประจำการในกองทัพเรือสหภาพโซเวียตในปี 1982 ในภารกิจต่อต้านเรือดำน้ำ หลังจากนั้นมีการพัฒนาขีดความสามารถให้เหมาะสมกับแต่ละภารกิจ ทั้งรุ่นย่อย Ka-28 สำหรับส่งออกให้ต่างประเทศใช้งาน รวมถึง Ka-29 ที่ติดอาวุธกลายเป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมทางทะเล

ส่วนรุ่น Ka-32 นั้นเป็นรุ่นที่มีการพัฒนาในหลายส่วนรวมถึงได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยเฉพาะภารกิจสำหรับ “พลเรือนไม่ว่าจะเป็นด้านการพาณิชย์หรือภารกิจกู้ภัย”

การออกแบบ Kamov Ka-32

การออกแบบเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้จุดเด่นอยู่ตรงส่วนใบพัดที่เรียกว่า “Coaxial Rotors” ที่มีลักษณะเป็นแบบใบพัดสองชั้นหมุนไปในทิศทางตรงข้ามกัน การออกแบบลักษณะนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีใบพัดขนาดเล็กที่หางหรือใบพัดท้าย ซึ่งช่วยให้โครงสร้างลำตัวส่วนหางสั้นลง เพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน  

เฮลิคอปเตอร์ Kamov Ka-32 ในไทย

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ประจำการทั้งหมด 2 ลำ สังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ประจำการอยู่ที่กองพันซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก ค่ายภูมิพล จังหวัดลพบุรี 

ทั้ง 2 ลำเป็นรุ่นย่อย Ka-32A11BC ที่ออกแบบมาสำหรับภารกิจกู้ภัยและดับเพลิงโดยเฉพาะ ติดตั้งเครื่องยนต์ Klimov TV3-117MA และอุปกรณ์พิเศษสำหรับการดับเพลิง ทั้งอุปกรณ์ฉีดน้ำแรงดันสูง รวมถึงถังบรรจุน้ำความจุ 3,000 ลิตรใต้ท้องเครื่อง ทำให้สามารถใช้น้ำและสารดับเพลิงต่างๆทั้งในแนวราบและทิ้งลงมาในแนวดิ่ง โดยทั้งแต่รับมอบมาในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ใช้เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ในหลายภารกิจ โดยเฉพาะการดับไฟป่า

ปัจจุบันเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ได้รับความนิยมทั่วโลก มีการใช้งานอยู่หลายหน่วยงานในหลายประเทศ อาทิเช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนิเซีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากทาง เพจ Wingtips >>> https://www.wingtips.info นะครับ

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่