Solar Cell System [EP:2] – ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel)

0
solar cell wall2

SOLAR CELL SYSTEM เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ฟรี และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ซึ่งการจะได้พลังงานแสงอาทิตย์นั้นมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้านั้นจะต้องมี “แผงโซล่าเซลล์ (SOLAR PANEL) จาก EP : 1 เพื่อนๆ ได้รู้จักเกี่ยวกับ Solar cell รวมถึงหลักการทำงานของ Solar cell และได้รู้เกี่ยวกับการเชื่อม Solar cell หลายๆ แบบที่นิยมใช้กันในบ้านและอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม Solar cell นั้นที่เพื่อนๆ รู้กันจะมี Solar Panel หรือว่า แผงโซล่าเซลล์ที่เป็นเหมือนตัวรับแสงและเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้าให้เราได้ใช้งาน ซึ่งในขณะนี้จะมี Solar Panel หลายๆ แบบที่สามารถเลือกใช้งานได้

ดังนั้นใน EP นี้ เราจะมาทำความรู้จัก Solar Panel แต่ละแบบ ซึ่งจะบอกกรรมวิธีในการผลิต, ประสิทธิภาพของแต่ละแผง รวมถึงราคาในเชิงเปรียบเทียบของแต่ละชนิด และจะปิดท้ายด้วยการเลือกแผงที่เหมาะสมนะครับ

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel)

ก่อนที่เราจะไปรู้จักในแต่ละประเภทของ Solar Panel อยากให้เพื่อนได้ทวนหลักการทำงานของ Solar Panel อีกครั้งตาม Video ด้านล่างนี้นะครับ.

1. แผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) นั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในการติดตั้ง Rooftop solar และในอุตสาหกรรม

แผง Solar Cell โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

กรรมวิธีการผลิต (Construction)

เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ทำมาจาก “ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (Mono-Si)” ซึ่งเป็นซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง แต่ละ Cells ผ่านกระบวนการ Czochralski process ที่อุณหภูมิสูง ทำให้ซิลิคอนเกิดผลึกเกาะกันที่แกนกลาง จนทำให้เป็นทรงกระบอก นำมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมบางๆ พร้อมทั้งลบมุมทั้ง 4 ด้านออก และมีสีเข้ม

โดยทั่วไป แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้จะมี Solar Cell ประมาณ 60 – 72 Cells ขึ้นอยู่กับขนาดของแผง

ประสิทธิภาพ (Performance)

แผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) จะมีประสิทธิภาพสูงทึ่สุดของทุกชนิด ซึ่งได้ค่า Efficiency ประมาณ 17 – 22% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (Mono-Si) และอิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย ซึ่งจากข้อดีดังกล่าวนี้สำหรับแผงชนิดนี้ จึงทำให้ค่าพลังงานที่ได้ออกมานั้นมากกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่น ซึ่งจะเหมาะกับพื้นที่น้อยแต่อยากได้ค่าฟลังงานที่นำมาใช้ที่มากกว่า

ราคา (Cost)

เนื่องจากกระบวนการผลิตของแผง Monocrystalline Silicon Solar Cells และประสิทธิภาพที่สูงกว่าแผงชนิดอื่น จึงทำให้ราคาของแผงชนิดนี้สูงกว่าชนิดอื่นด้วย

2. แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) ซึ่งบางครั้งจะใช้ชื่อ Multicrystalline Silicon Solar Cells ซึ่งจะนิยมกันมากสำหรับผู้ที่งบประมาณที่จำกัด

แผง Solar Cell ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

กรรมวิธีการผลิต (Construction)

กระบวนการผลิตของ แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) จะเกิดจาก Crystal เล็กจำนวนมากมาประกอบกัน ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ “Metal flake effect” จนมาเป็นแผง ซึ่งทำให้เซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงน้ำเงินไม่เข้มมาก และมีลวดลายของผลึกบนแผง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแผงชนิดนี้

จำนวน solar cell จะอยู่ที่ประมาณ 60 – 72 Cells เหมือนกับแผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

ประสิทธิภาพ (Performance)

แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) มีประสิทธิภาพประมาณ 15 – 17% เนื่องจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่ยากกว่า

แต่อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีในสมัยนี้ทำให้ประสิทธิภาพของแผงชนิดนี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ใกล้เคียงกับแผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

ราคา (Cost)

ราคาของ แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) นั้นถูกกว่า แผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) แต่อาจจะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและค่าพลังงานที่ต้องการให้เหมาะสมกับการลงทุน

3. แผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบาง (Thin-film Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบาง (Thin-film Solar Cells) แตกต่างจากแผงทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งแผงชนิดนี้จะมีสีดำ ปราศจากโครงสร้างซิลิกอนทั่วไป บนแผง แต่จะเป็นแบบ ฟิล์มบาง ที่น้ำหนักเบา และสามารถทนต่อการโค้งงอได้ จึงทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง

แผงโซล่าเซลล์ ชนิด ฟิล์มบาง (Thin-film Solar Cells)

กรรมวิธีการผลิต (Construction)

แผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบาง (Thin-film Solar Cells) เกิดจากการจัดเรียงของสาร Photovoltaic ที่บาง เช่น Amorphous silicon (a-Si), Cadmium telluride (CdTe), Copper indium gallium selenide (CIGS) หรือ Dye-sensitized solar cells (DSC) บนพื้นผิวที่แข็งเหมือนแก้ว ซึ่งกระบวนการผลิตนี้สุดท้ายแล้วจะทำให้แผงชนิดนี้เบาและสามารถโค้งงอได้

ประสิทธิภาพ (Performance)

แผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบาง (Thin-film Solar Cells) มีชื่อเสียเนื่องมาจากมีประสิทธิภาพที่ต่ำที่สุดของชนิดแผงทั้งหมด ประมาณ 10 – 13% ซึ่งการที่เลือกใช้แผงชนิดนี้นั้นจะทำให้ต้องมีพื้นที่และเพิ่มแผงเพื่อให้ได้ค่าพลังงานที่ต้องการ ถ้าเทียบกับแผงชนิดอื่น และอายุการใช้งานที่สั้น จึงไม่เหมาะสมและไม่นิยมนำมาติดตั้งในบ้านและอุตสาหกรรม

ราคา (Cost)

ราคาของแผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบาง (Thin-film Solar Cells) ถูกที่สุดในบรรดาชนิดของแผงทั้งหมด เนื่องจากประสิทธิภาพที่ต่ำ แต่อย่างไรก็ตามแผงชนิดนี้ติดตั้งได้ง่ายกว่าแผงชนิดอื่นเนื่องจากสามารถโค้งงอได้

แผงชนิดไหนที่ดีที่สุดสำหรับเรา ?

โดยทั่วไป แผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบาง (Thin-film Solar Cells) จะติดตั้งง่ายและถูก แต่ไม่เหมาะจะเอามาใช้งานเนื่องจากประสิทธิภาพที่ต่ำและได้พลังงานออกมาได้น้อย

สำหรับการติดตั้งตามบ้านที่พื้นที่จำกัด แผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) น่าจะตอบโจทย์มากกว่า แต่ต้องยอมรับในเรื่องของงบประมาณในการลงทุนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพและพลังงานที่ได้รับมานั้น คุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุนไป

แต่ !!! ถ้ามีงบประมาณที่จำกัดนั้น อาจจะหันมาเลือก แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) แทน

ดังนั้นเลือกใช้ชนิดแผงระหว่าง แผงโซล่าเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) และ แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) จะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่ขึ้นอยู่กับคุณที่ต้องการ อย่างไรก็ตามเลือกยี่ห้อและผู้ติดตั้งที่ดีนั้นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ

แล้วพบกับสาระความรู้ทางด้านงานช่าง และงานวิศวกรรมได้ในโพสต์ถัดๆไปนะครับ หรือสามารถตามสื่อตามๆของเราด้านล่างเลยนะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่