การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ทั่วโลก และในประเทศไทย ถือว่าเป็นวิกฤตที่ทุกๆ คนต้องเผชิญหน้าไปด้วยกัน ซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อนั้นมีเพิ่มขึ้นเกือบทุกวัน

แต่จะมีบุคคลากรทางการแพทย์ที่เราให้ชื่อว่า นักรบเสื้อกราวนด์ นั้นมีความเสี่ยงอยู่มาก ทำให้บุคคลากรต่างๆ ทางการแพทย์ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคอย่างมาก ซึ่งสามารถเกิดมาจากการต้องเข้าไปตรวจวัดร่างกายประจำวัน หรือการรับส่งอาหารและยาให้กับคนไข้

New Normal ที่ใช้ Technology เข้ามามีบทบาท

ทีมพัฒนาหุ่นยนต์จากศูนย์วิจัย iRAPs มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ออกแบบ วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์สัญชาติไทยแท้ร้อยเปอร์เซนต์ (iRAPs SHaRE-aGIVer) เพื่อเป้าหมายในการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19 และที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19

การวิจัยหุ่นยนต์จากทีม iRAPs และ PTTGC

ด้วยเหตุนี้ทางศูนย์วิจัย iRAPs ร่วมกับ วิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และได้รับการสนับสนุนจาก PTTGC และบริษัทโพลีโฟม จึงร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อตอบโจทย์ในการลดการปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วย

หรือผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยหุ่นยนต์อัตโนมัติจะมีฟังก์ชันการสร้างแผนที่ทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ แล้วสามารถเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายที่กำหนดไว้ โดยการคิดหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด พร้อมทั้งสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางทั้งที่เคลื่อนที่ได้และสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนที่ไม่ได้ได้เองแบบอัตโนมัติ และหากทางที่เลือกไว้โดนปิดกั้น ก็สามารถคิดหาเส้นทางใหม่ได้เอง

ความสามารถของหุ่นยนต์ iRAPs SHaRE-aGIVer

ทำให้สามารถส่งอาหาร ยา หรือเครื่องมือทางการแพทย์ในการตรวจเป็นประจำทุกวันระหว่างคนไข้ และบุคคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้หุ่นยนต์ยังมีความสามารถในติดต่อสื่อสารระยะไกลผ่านวีดีโอคอล (teleconference) ผ่านหุ่นยนต์ดังกล่าว

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และผู้คนกำลังนั่ง

ที่ทำให้คนไข้สามารถสื่อสารได้โดยตรงกับทางแพทย์ และพยาบาล ซึ่งความสามารถทั้งสองอย่างที่กล่าวมานี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ในกรณีเกิดโรคระบาดอย่างเช่นในปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาหุ่นยนต์ในครั้งนี้ ถือว่าเป็น New Normal ที่ทางทีมงานได้นำ Technology มาช่วยตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาปัจจุบันที่ทางบุคคลากรทางการแพทย์นั้นประสบอยู่

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (25/05/2563) ด้วยความร่วมมือจากโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ทางทีมงานวิจัยหุ่นยนต์ได้รับอนุญาตให้นำหุ่นยนต์เข้าไปทดสอบจริงภายในโรงพยาบาล ซึ่งทางทีมงานได้ทำการเก็บข้อมูลจะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาระบบต่อไป

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ iRAPs ได้ในเร็วๆ นี้ครับ แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์ #IRAP

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่