สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide) คืออะไร?

0
โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide)
โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide)

โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีสูตรเคมีว่า NaOH เป็นของแข็งที่มีลักษณะเป็นเกล็ดหรือเป็นผงสีขาว ละลายในน้ำได้ดีและปล่อยความร้อนออกมาเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำ มักมีใช้ในครัวเรือนทั่วๆไป และพบบ่อยๆในโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะ “เบสแก่” (Strong Base) เพื่อปรับค่า pH และทำปฏิกิกริยาทางเคมีในกระบวนการผลิต

แต่ทว่าเพื่อนๆรู้มั้ยครับ จริงๆสารโซดาไฟถือเป็นสารอันตรายระดับหนึ่งเลย (ดูตาม SDS ในบทความนะครับ) ซึ่งวันนี้ทางนายช่างมาแชร์จะขอมาแชร์ความรู้ว่าจริงๆแล้วสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ คืออะไร และมีข้อควรระวังอะไรบ้างครับ

คุณสมบัติของโซดาไฟ:

  • เป็นสารกัดกร่อน: โซดาไฟเป็นสารที่มีความกัดกร่อนสูง สามารถกัดกร่อนโลหะและเนื้อเยื่อได้
  • ละลายในน้ำ: เมื่อละลายในน้ำจะกลายเป็นสารละลายที่มีค่า pH สูง (เป็นด่าง)
  • มีความร้อนเกิดขึ้น: เมื่อโซดาไฟละลายในน้ำจะเกิดความร้อน ซึ่งอาจทำให้เกิดการกระเด็นและอันตรายต่อผู้ใช้ได้

การใช้งาน:

โซดาไฟมีการนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น

  • การผลิตสบู่และผงซักฟอก: เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสบู่เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยากับไขมันได้
  • การบำบัดน้ำ: ใช้ในการปรับค่า pH ของน้ำและกำจัดสิ่งสกปรก
  • การทำความสะอาดท่อระบายน้ำ: โซดาไฟช่วยละลายสิ่งอุดตันในท่อ เช่น ไขมันและเศษอาหาร

ข้อควรระวัง:

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง: ควรสวมถุงมือและแว่นตาเพื่อป้องกันการสัมผัสกับผิวหนังและดวงตา
  • ห้ามสูดดม: ควรทำงานในที่ที่มีการระบายอากาศดี หลีกเลี่ยงการสูดดมฝุ่นหรือไอของโซดาไฟ
  • หากสัมผัสถูกผิวหนังหรือดวงตา: ควรล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากและรีบไปพบแพทย์ทันที

“ห้ามใช้” โซดาไฟกับอะไร ?

  • สารฟอกขาว (Bleach) โซดาไฟสามารถทำปฏิกิริยากับสารฟอกขาว (โซเดียมไฮโปคลอไรท์) ทำให้เกิดก๊าซคลอรีนที่เป็นพิษ
  • กรด การผสมโซดาไฟกับกรด เช่น กรดซัลฟูริกหรือกรดไฮโดรคลอริก จะทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและปล่อยความร้อนสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดการกระเด็นและอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา
  • อลูมิเนียม โซดาไฟสามารถทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียมได้ โดยจะทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้
  • พื้นผิวไม้ การใช้โซดาไฟบนพื้นผิวไม้สามารถทำลายเนื้อไม้และทำให้สีหรือเคลือบผิวเสื่อมสภาพได้
  • พื้นผิวโลหะบางชนิด นอกจากอลูมิเนียมแล้ว โซดาไฟยังสามารถกัดกร่อนโลหะบางชนิด เช่น สังกะสีและดีบุก
  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่น หลีกเลี่ยงการผสมโซดาไฟกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้โดยเฉพาะ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาที่ไม่คาดคิด

ขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อสัมผัสโซดาไฟ

  • หากโดนผิวหนัง รีบล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากและต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที เพื่อชะล้างสารเคมีออกให้หมด
  • หากเข้าตา รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากและต่อเนื่องอย่างน้อย 15 นาที โดยหลับตาและค่อย ๆ เคลื่อนลูกตาไปมา
  • หากสูดดม ย้ายผู้ป่วยไปยังที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และปล่อยให้หายใจเองตามธรรมชาติ
  • ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนโซดาไฟออกทันที เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีสัมผัสกับผิวหนังบริเวณอื่น
  • ห้ามใช้ยาหรือสารใด ๆ ทาบริเวณที่ถูกโซดาไฟ อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่รุนแรงขึ้น
  • รีบไปโรงพยาบาล หลังจากทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

สิ่งที่ไม่ควรทำ : ห้ามขัด ถู ขูด เพื่อทำให้สารที่ติดอยู่หลุดออกมา อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงขึ้นได้ อย่าใช้สารละลายที่เป็นกรด เช่น น้ำส้มสายชู เพื่อกลางฤทธิ์ของโซดาไฟ อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่รุนแรงขึ้นได้

โซดาไฟเป็นสารเคมีที่มีประโยชน์มาก แต่ต้องใช้งานอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนะครับ

เอกสารข้อมูลความปลอยภัย SDS (Safety Data Sheet)

Reference : Thaipbs , Rcilabscan

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่