ในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีเกี่ยวข้องกับเรื่องของไฟ ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ซึ่งปฎิเสธไม่ได้เลยว่าถ้าเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นมานั้นจะทำให้เกิดการสูญเสียมหาศาลทั้งทางด้านสินทรัพย์ ตัวเงิน และอันตรายต่อพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้
อุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น พวกเราทุกคนคงไม่อยากให้เกิดตามที่พักอาศัย หรือที่ทำงานของเรา ไม่ว่าจะเป็น Office หรือตามโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งความเสียหายนั้นไม่สามารถจะประเมินค่าได้ ดังนั้นสมัยปัจจุบันนี้จะมีระบบดับเพลิงที่ติดตั้งไว้ตามอาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดความเสียลามไปมากกว่านี้
ซึ่งในบทความนี้ทางนายช่างมาแชร์ จะพาทุกคนไปรู้จักกับ อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติสำหรับตู้ไฟ DSPA ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก และเพื่อนๆ จะได้รู้ว่าเราจะสามารถระงับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างทันท่วงทีสำหรับอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดนี้ได้อย่างไร ไปติดตามกันเลยครับ
เทคโนโลยีอุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ DSPA
ในอดีตเพื่อนๆ อาจจะคุ้นเคยกับการดับไฟ โดย Fireman ที่จะถือถังดับเพลิงเข้าไปควบคุมเพลิงไหม้ หรือในโรงงานหรือสำนักงานจะมีระบบ Sprinkle ที่จะฉีดน้ำกรณีที่ตรวจเจอเพลิงไหม้ จาก Heat detection หรือกลุ่มควันที่ตรวจวัดจาก Smoke detector
ซึ่งจะมีการลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นระบบที่ค่อนข้างใหญ่ และต้องมีการทำงานประสานงานกันไม่ว่าจะเป็นการทำงานจาก Sensor ในการตรวจวัด และนำมาประมวลผลผ่าน Fire Alarm Control Panel หลังจากนั้นมีการแจ้งเตือนให้ทางคนปฏิบัติงานได้รับทราบ จากทางแสง เสียง และมีการดับเพลิงด้วยระบบ Water Sprinkle
จะเห็นว่าเป็นระบบที่ใหญ่ และการติดตั้งค่อนข้างลำบาก ซึ่งเวลาเกิดเพลิงไหม้ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากระบบไฟฟ้าลัดวงจรภายในตู้ไฟฟ้า ซึ่งเราจะไม่ค่อยได้เห็น Sensor ดังรูปข้างต้นนำไปติดในตู้ไฟฟ้ามากเท่าไร ดังนั้นวันนี้จะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักเทคโนโลยีของ อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ DSPA ที่การติดตั้งไม่ยุ่งยาก จิ๋ว แต่แจ๋วมาก
อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติสำหรับตู้ไฟ DSPA นั้นถูกออกแบบด้วยระบบ Aerosol (ละอองเหลว) มาให้ติดตั้งในการระงับเหตุเพลิงไหม้ในตู้ไฟฟ้า MDB ต้ Control หรือตู้ต่างๆ ที่มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ Electronics ด้านใน
ซึ่งจุดเด่นที่สำคัญของอุปกรณ์ตัวนี้ คือ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งทั้งระบบดับเพลิงที่กล่าวข้างต้น แต่สามารถติดตั้ง Standalone ในตู้ได้เลย ซึ่งราคาถูกกว่าเยอะมาก อีกทั้งอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี ที่ดีกว่านั้นเราไม่ต้องไปดูแลเยอะ เพราะว่า Free Maintenance นั่นเอง เห็นจิ๋วๆ แบบนี้
แต่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก UL, CE และ ISO มาทำให้ผู้ที่จะนำไปใช้งานนั้นใช้งานได้อย่างมั่นใจ
สาเหตุการเกิดเหตุเพลิงไหม้
การเกิดประกายไฟ หรือเพลิงไหม้นั้น อยู่ๆ จะทำให้ติดเลย โดยขาดปัจจัยใด ปัจจัยหนึ่งที่จะกล่าวต่อจากนี้ไปไม่ได้ ซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการติดไฟได้ ดังนี้
- อากาศ หรือ Oxygen ที่มีอยู่ในบริเวณดังกล่าว หรือปริมาตรที่เราสนใจ ซึ่งจะมีปริมาณที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการติดไฟได้ ประมาน 21% โดยปริมาณ
- ความร้อน ในปริมาณที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับเชื้อเพลิงนั้นมีจุดวาบไฟอยู่ที่เท่าไร ซึ่งจะวัดเป็นอุณหภูมินั่นเอง
- เชื้อเพลิง โดยสามารถอยู่ในสถานะ ของแข็ง ของเหลว หรือว่าแก๊ส ก็ได้
ดังนั้นการที่จะทำให้ติดไฟ หรือเกิดเพลิงไหม้ได้นั้นจะต้องมีองค์ปรกอบทั้ง 3 ปัจจัยที่กล่าวข้างต้นแล้ว ซึ่งจะต้องเป็นหน้าที่ของคนออกแบบว่าจะติดตั้งระบบการดับเพลิง หรือตรวจจับเพลิงไหม้ให้อย่างเหมาะสม และระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้
หลักการทำงานอุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติสำหรับตู้ไฟ DSPA
อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติสำหรับตู้ไฟ DSPA จะถูกติดตั้งในตู้ MDB หรือตู้ไฟฟ้า โดยจะทำงานแบบอัตโนมัติเมื่อมีเพลิงไหม้ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 170 องศาเซลเซียส โดยความร้อนจะไปให้สายชนวน Aerosol (ละอองของเหลว) ของอุปกรณ์ทำงาน
ซึ่งสารดับเพลิงด้านใน ก็คือ โพแทสเซียม ไนเตรด CAS# 7757-79-1 จะช่วยดับเพลิงได้อย่างทันท่วงที เพื่อนสามารถดูคลิปการสาธิตจากด้านล่างนี้เลยครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับเพื่อนๆ อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติสำหรับตู้ไฟ DSPA นี้จะเขามาช่วยให้เราสามารถระงับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างมั่นใจ และค่าใช้จ่ายไม่เยอะ เพราะว่าไม่ต้องไปติดตั้งระบบ Fire fighting ให้ยุ่งยาก เนื่องจากสามารถติดตั้ง Standalone ในตู้ได้เลย ทำให้ประหยัดเงินลงทุน และค่าบำรุงรักษาไปได้เยอะเลยครับ
รีวิวการใช้งาน DSPA จริงจากทาง นายช่างมาแชร์
=======================================
สำหรับบทความนี้ต้องขอขอบคุณความรู้ดีๆจากทาง “Trueseal Pacific”
หากเพื่อนๆสนใจสามารถติดต่อได้ทาง
โทร:
คุณอธิวัฒน์ : 089-9995161
คุณณัฐนิช : 083-0079888
Office : 02-932 5661-3
e-mail:
[email protected], [email protected]
เว็ปไซด์:
www.truesealcorp.com
=======================================
#นายช่างมาแชร์ #DSPA #ระบบดับเพลิง #Fire #Firefighting #Protection #NFPA