หุ่นยนต์ HyperTaste แยกแยะรสชาติได้จากระบบ AI Machine และ Learning

1
hypertaste-technology wall
hypertaste-technology wall

ตัวหุ่นยนต์ HyperTaste เครื่องมือสำหรับการตรวจวัดรสชาติทางเคมี หรือเรียกได้ว่าเป็น “หุ่นยนต์ลิ้มลอง และแยกแยะรสชาติ” เซ็นเซอร์ที่ “ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของของเหลวได้” จากผลงานวิจัยจากทาง IBM Research,  Patrick Ruch.

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นจากการใช้ “เซ็นเซอร์หลายตัวมารวมตัวกัน” ซึ่งทำงานเหมือนกับปุ่มรับรสบนลิ้นของมนุษย์ โดยใช้อัลกอริทึมของระบบ Machine learning เพื่อตีความผลลัพธ์จากเซ็นเซอร์ โดยทีมงานใช้แผงวงจรที่มีฮาร์ดแวร์เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์และเซ็นเซอร์โพลีเมอร์ที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า 16 ชุด โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะเปลี่ยนกระแสแรงดันไฟฟ้าเมื่อจุ่มลงในสารละลาย

ผลงานวิจัยจากทาง IBM Research,  Patrick Ruch

การจุ่มชิ้นส่วนของเซ็นเซอร์ลงในของเหลวจะสร้างชุดสัญญาณแรงดันไฟฟ้า หรือรูปแบบทางเคมีที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับของเหลวแต่ละชนิด สัญญาณแรงดันไฟฟ้าเหล่านี้จะถูกส่งไปยังสมาร์ตโฟนที่จะส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ โดยที่ระบบอัจฉริยะอย่าง Machine learning จะใช้ข้อมูลที่ได้รับมาเพื่อกำหนดรูปแบบของอัลกอริทึมและเปรียบเทียบรูปแบบทางเคมีเหล่านั้นกับฐานข้อมูลของเหลวที่รู้จัก 

จากนั้นอัลกอริทึมจะรายงานผลลัพธ์กลับไปที่แอปพลิเคชันในมือถือสมาร์ตโฟน ภายในหนึ่งหรือสองนาที และผู้ใช้ก็สามารถดูผ่านมือถือได้เลย

การตีความข้อมูลโดยใช้เครื่องช่วยแบบนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับห้องปฏิบัติการในอนาคต หากคอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการตรวจวัดได้ ก็จะสามารถค้นหาวิธีการสังเคราะห์สารประกอบโดยอัตโนมัติ และสั่งผลิตสารประกอบเหล่านั้นได้ทันทีด้วยหุ่นยนต์ หรืออาจสร้างวัสดุประเภทใหม่ที่มีคุณสมบัติดีกว่า และยั่งยืนกว่าได้ในอนาคต

IBM Hypertaste: An AI-assisted e-tongue for fast and portable fingerprinting of complex liquids

ที่มา : TNN Thailand, Spectrum.ieee.org

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่