Site icon นายช่างมาแชร์

Pump [EP.5] : หลักการทำงานของ Diaphragm pump (ชนิด API)

สวัสดีครับเพื่อนๆ กลับมาเจอกันอีกครั้งกับเรื่องราวของปั้ม วันนี้เราจะพามาดูปั้มอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมมากๆอีกชนิดหนึ่งในแวดวงอุตสาหกรรมมากๆ นั้นคือ Diaphragm pump หรือ ปั้มที่ส่งกำลังผ่านแผ่นไดอะแฟรม โดยแผ่นไดอะแฟรมทำหน้าที่ตัดแยกระบบจากฝั่งเครื่องจักรออกจากฝั่งของไหล โดยข้อดีนี้ทำให้ปั้มสามารถปั้มสารที่มีความเป็นกรด-ด่างสูงได้ หรือพวกสารที่มีความหนืดหรือพวกตะกอนเยอะๆได้ครับ โดยที่ของไหลพวกนี้จะไม่ไปสัมผัสชิ้นส่วนปั้มด้านในโดยตรง

กลับไปอ่านบทความปั้มอื่นๆตรงนี้นะครับ
Pump Principle 1: ประวัติ และชนิดของปั้มแต่ละแบบ
Pump principle 2: Centrifugal pump ฉบับพื้นฐาน
Pump Principle 3: Mechanical Seal หน้าที่และส่วนประกอบ
Pump Principle 4: Piping plan ของ Mechanical seal

โดยปั้มไดอะแฟรมชนิดนี้ เป็นปั้มชนิด Positive Displacement หรือการส่งกำลังแบบอัดไปด้านหน้า ซึ่งหลักการทำงานจะแตกต่างจาก centrifugal pump อย่างสิ้นเชิงนะครับ โดยปั้มชนิดนี้จะชอบนิยมในการโดส (Dosing) สารเคมี เพราะว่า ปั้มชนิดนี้จะมีความแม่นยำในการให้ปริมาณของของไหลที่เที่ยงตรงมากครับ

โดยหลักการคือ ปั้มไดอะแฟรมจะอาศัยการส่งแรงไปที่ของเหลวด้วยวิธีการอัด ดังนั้นปั้มจะอัดของเหลวไปเรื่อยๆ ยิ่งอัดเร็วมาก หรือ อัดด้วยปริมาณมากเท่าไหร่ของเหลว ก็จะส่งไปไวเท่านั้น

แต่ทว่าถ้าเป็น centrifugal pump จะเป็นการเหวี่ยงของเหลว ซึ่งอาศัยการโยนโมเลกุลของเหลวด้วยความเร็วครับ ซึ่งคุณสมบัติของปั้มทั้งสองตัวจะแตกต่างกันตามกราฟด้านล่างนะครับ(เพื่อนๆสามารถกลับไปอ่านคุณสมบัติของปั้ม 2 ชนิดนี้ได้ใน EP.1 นะครับ)

ส่วนประกอบของปั้มไดอะแฟรม

ขั้นแรกเพื่อความเข้าใจนะครับ ลองมาดูส่วนประกอบต่างๆภายในปั้มไดอะแฟรม และหน้าที่คร่าวๆกันก่อนเลยนะครับ

หลักการทำงานของปั้มไดอะแฟรม

ปั้มไดอะแฟรม (Diaphragm pump) จะเป็นการส่งถ่ายแรงแบบอัด โดยจุดเริ่มต้นของแรงส่งมาจาก motor จากนั้นแรงผ่านชุดส่งกำลังมาหาลูกสูบ (Plunger)

ในจังหวะขาส่ง ลูกสูบดันตัวส่งถ่ายแรงไปให้น้ำมัน (Hydraulic oil) และน้ำมันส่งแรงไปดันแผ่นไดอะแฟรม อีกที หลังจากนั้นแผ่นไดอะแฟรม จะไปดันของเหลวให้เกิดการอัดตัวขึ้น โดยเช็ควาล์วขาดูดอยู่ตำแหน่งปิด และเช็ควาล์วขาส่งอยู่ตำแหน่งเปิดเพื่อสร้างแรงดัน

ในจังหวะขาดูด ลูกสูบจะดันตัวกลับ หลังจากนั้นน้ำมันจะสร้างแรงดูดไปดูดแผ่นไดอะแฟรม จากนั้นของเหลวจะถูกดูดเข้ามาด้านในห้องแรงดัน โดยเช็ควาล์วขาดูดอยู่ตำแหน่งเปิด และเช็ควาล์วขาส่งอยู่ตำแหน่งปิดเพื่อสร้างแรงดูดเข้ามา

และเป็นแบบนี้ซ้ำๆ หรือที่เรียกว่า Cycle) และเกิดเป็นความดันและอัตราการไหล (ในกราฟ p-V diagram ด้านล่างนะครับ)

*สีฟ้า : เป็นห้องของ Process ของไหล, *สีเหลือง : เป็นห้องของน้ำมันส่งกำลัง Hydraulic

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อปั้มทำความดันถึงจุดสูงสุด?

ในการทำงานของปั้มไดอะแฟรม ในขณะทำการส่งของเหลว ความดันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะเพิ่มจน ถึงจุดที่ Pressure setting valve จากนั้นวาล์วตัวนี้จะทำการเปิดและระบายแรงดันออก เท่ากับว่า แรงดันขาออกจะประมาณเท่ากับแรงดันที่ตั้งค่าไว้

แต่ในช่วงขาดูดของเหลวจะถูกดูดขึ้นมา และจะมีการระบายอากาศในห้องน้ำมันส่งกำลังออก ด้วยวาล์วระบายอากาศ (Air vent valve) และมีการระบายแรงดันจำนวนหนึ่งออกด้วย (Replenishing valve) เพื่อป้องกันแผ่นไดอะแฟรมเสียหายในช่วงจังหวะดูดเข้านะครับ

ไว้ครั้งหน้ามีโอกาสเราจะมาแชร์หน้าที่ และส่วนประกอบสำคัญอื่นๆของปั้มชนิดนี้กันนะครับ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากทาง PDFlowtech นะครับสำหรับ

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมและ service ดีๆติดต่อได้ที่ info@pdflowtech​.com, หรือเบอร์โทร 02-553-1433

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare

#นายช่างมาแชร์ 

Exit mobile version