Site icon นายช่างมาแชร์

Gas detector ชนิด IR (Infrared type)

Gas detector IR wallpaper

Gas detector IR wallpaper

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงงานปิโตรเคมี เพื่อความปลอดภัยเราจำเป็นที่ต้องติดตั้งระบบการตรวจจับก๊าซรั่วเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม ถ้าหากก๊าซที่รั่วออกมามีความเป็นพิษสูง หรือมีความไวไฟ อาจเกิดอันตรายถึงชีวิตเลยก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ที่คอยแจ้งเตือนเหตุผิดปกติเหล่านี้ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Gas detector นั่นเอง

จากบทความก่อนหน้าแอดเองได้นำเสนอ Gas detector ชนิด Catalytic bead ไปแล้ว ซึ่งในวันนี้แอดจะขอนำเสนออีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความนิยมนั่นก็คือ Gas detector ชนิด IR (Infrared) นั่นเอง

หลักการทำงานของ Gas detector ชนิด IR

หลักการทำงานของ Gas detector อาศัยหลักการในการดูดซับคลื่น Infrared ตามชนิดของก๊าซ ซึ่งก๊าซจะถูกดูดเข้ามาในห้องเก็บตัวอย่าง (Sample chamber) โดยจะมีแหล่งกำเนิด Infrared ฉายไปที่ห้องเก็บตัวอย่าง (Sample chamber) และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวรับเพื่อจับความเข้มของ Infrared แล้วส่งต่อไปยังหน่วยปรับแต่งสัญญาณต่อไป ซึ่งถ้าหากปริมาณก๊าซรั่วถูกดูดเข้าไปยังห้องเก็บตัวอย่าง (Sample chamber) เป็นปริมาณที่มาก การดูดกลืน Infrared ของก๊าซก็จะดูดกลืนได้มากแบบแปรผันตรง

รูปแสดงการทำงานของ Gas detector ชนิด IR Credit: automationforum.co

ส่วนประกอบหลักๆของ Gas detector ชนิด IR

1) แหล่งกำเนิด Infrared

แหล่งกำเนิด Infrared จะต้องสร้างการแผ่รังสีที่เพียงพอต่อการใช้งานและต้องมีความยาวคลื่นที่เหมาะสมสำหรับการตรวจจับชนิดของก๊าซที่รั่วออกมา ตัวปล่อยรังสีอินฟราเรดจะปล่อยคลื่นที่มีความยาวคลื่นที่สอดคล้องกันกับก๊าซที่เราต้องการจะตรวจจับซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็น Heated filament หรือ LED เป็นตัวกำเนิดรังสี Infrared

2) ห้องเก็บตัวอย่าง (Sample chamber)

ห้องเก็บตัวอย่าง (Sample chamber) เป็นพื้นที่ในการเก็บก๊าซที่ถูกสุ่มเข้ามาซึ่งจะทำการเก็บชั่วคราวเพื่อทำการวัดหลังจากนั้นจะทำการระบายออก โดยห้องเก็บตัวอย่าง (Sample chamber) จะอยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดรังสี Infrared และตัวรับรังสี Infrared

3) ตัวปรับแสง (Modulating light)

ตัวปรับแสง (Modulating light) หรือบางแห่งเรียกว่า Beam splitter แหล่งกำเนิดแสงจะต้องได้รับการปรับแต่งเพื่อให้เครื่องตรวจจับและวงจรที่เกี่ยวข้องทำงานได้อย่างถูกต้อง อาจมีตัวกรองแสงหรือสิ่งรบกวนต่างๆออกไป

4) ตัวรับ (Detector)

ตัวรับ (Detector) ของ Gas detector หรือ เครื่องตรวจจับจะวัดความเข้มของรังสีอินฟราเรดที่ผ่านห้องเก็บตัวอย่าง อาจเป็นโฟโตไดโอด หรือเครื่องตรวจจับอื่นๆ ที่เหมาะสม

5) ชุดปรับแต่งสัญญาณ (Signal Processing Unit)

ชุดปรับแต่งสัญญาณ (Signal Processing Unit) จะรับเอาต์พุตของตัวรับ (Detector) และทำการคำนวณและปรับแต่งสัญญาณ เพื่อกำหนดความเข้มข้นของก๊าซ อาจรวมถึงชุดขยายสัญญาณ ตัวกรอง และอัลกอริธึมการประมวลผลข้อมูล

ข้อดีของ Gas detector ชนิด IR

หลายๆท่านอ่านมาถึงตรงนี้ก็สงสัยว่า อ้าวในเมื่อมันดีกว่าขนาดนี้ทำไมจึงยังต้องมี Catalytic Bead ด้วย มาถึงข้อจำกัดของ Gas detector ชนิด IR ตามด้านล่างครับ

ข้อจำกัดของ Gas detector ชนิด IR

แล้วพบกับสาระดีๆแบบนี้ทางด้านงานช่าง งานวิศวกรรม และอุตสาหกรรมได้ที่ นายช่างมาแชร์ นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์ 

Exit mobile version