“Smart Factory” หรือ “โรงงานอัจฉริยะ” เป็นอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไร ?

0

ในยุคนี้คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า…การเข้ามาเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และในตัวโรงงานเองก็มีการนำเทคโนโลยียุคใหม่ลายๆอย่างมาประยุกต์ใช้ เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent; AI), อินเตอร์เน็ตทุกสิ่งอย่าง (Internet of Things, IoT), การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data), การประมวลผลผ่านระบบคลาวน์ (Cloud Computing) จนกลายเป็นโรงงานยุค 5.0 หรือ โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)

แต่ทว่าโรงงานอัจฉริยะมีนิยามอย่างไร ? และมีปัจจัยอะไรบ้าง และมีประโยชน์อย่างไรตามไปดูกันครับ

นิยามของโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)

ก่อนที่จะก้าวเข้าไปสู่เทคโนโลยียุคใหม่ๆที่เป็นองค์ประกอบของโรงงานอัจฉริยะ ทางนายช่างมาแชร์ขอบอกคำนิยามกันก่อน นั้นคือ “ในโรงงานอัจฉริยะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ จะเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย IoT ทำให้สามารถสื่อสารและประสานงานได้อย่างราบรื่น การเชื่อมต่อนี้ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real-Time Monitoring) จากเซ็นเซอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ทั่วทั้งสายการผลิต ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์โดยใช้อัลกอริธึมขั้นสูงและ AI เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการผลิตอย่างมากเลยครับ”

ซึ่งหากเพื่อนๆกำลังมองหาอุปกรณ์เกี่ยวกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบ IoT , Real-Time, พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ ไปพบกับเทคโนโลยีเซนเซอร์จากทาง Murata เพื่อนๆสามารถคลิกไปดูตามภาพด้านล่างกันนะครับ

องค์ประกอบสำคัญของโรงงานอัจฉริยะ (Key of Smart Factory)

1. ระบบอัตโนมัติ (Automation)

ระบบอัตโนมัติ โดยการใช้หุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติ เพื่อปฏิบัติงานทดแทนการทำงานแบบดั้งเดิมที่ดำเนินการโดยมนุษย์ ซึ่งระบบอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตกับโรงงานอุตสาหกรรม

IoT Machine Industry revolution

2. การเชื่อมต่อ (Connectivity)

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อทุกสิ่งอย่าง หรือ Internet of Thing ;IoT จะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อและทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ เครื่องจักร และระบบ อำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลและการประสานงานทั่วทั้งสายการผลิต ซึ่งเมื่อเครื่องจักรมีการพูดคุยกันเองแล้ว ก็ลดขั้นตอนการทำงานของคนได้เยอะเลยครับ

Temp Humidity sensor Murata 8
ตัวอย่างเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ IoT แบบไร้สาย Wireless

3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

เทคนิคการวิเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันนี้ก้าวไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง จากโมเดล อัลกอลิทึม และ AI โดยถูกนำไปใช้กับข้อมูลที่เก็บรวบรวมจำนวนมหาศาล (Big data) เพื่อรับข้อมูลเชิงลึก ระบุรูปแบบ และตัดสินใจอย่างแม่นยำ และรอบรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การตัดสินใจที่ดีที่สุดบนพื้นฐานข้อมูลขนาดมหาศาล และการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

4. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent, AI)

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เราคุ้นเคยกับคำว่า AI ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล คาดการณ์ผลลัพธ์ และทำให้กระบวนการตัดสินใจเป็นไปโดยอัตโนมัติ จากการเรียนรู้ข้อมูลแบบ Machine Learning โดยอัลกอริทึม AI สามารถปรับตารางการผลิตให้เหมาะสม คาดการณ์ความต้องการในการบำรุงรักษา ซึ่งจะสอดคล้องการผลกำไร หรือผลประโยชน์ของบริษัทที่กำหนดไว้ได้อย่างดีที่สุด

Mathematics Robot Calculation

5. การเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ณ เวลาขณะนั้น (Real-Time Monitoring)

การเก็บข้อมูลในโรงงานแบบยุคก่อนๆ เราจะต้องเอาคนเข้าไปเก็บตามคาบเวลา อาจจะทุกๆ 6 เดือน ซึ่งการเก็บข้อมูลแต่ละครั้งก็จะทิ้งช่วงเวลาที่นาน และบางสถานที่อาจจะมีความเสี่ยง แต่ในปัจจุบันมีเซ็นเซอร์และระบบตรวจสอบติดตามและตรวจสอบข้อมูลต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น การวัดค่าความสั่นสะเทือน, การวัดค่าอุณหภูมิความชื้น, หรือ การเก็บค่าสัญญาณต่างๆ แบบ ณ เวลาขณะนั้นจริงๆ หรือเรียกว่า Real-Time Monitoring ซึ่งหากเครื่องจักรมีความผิดปกติขึ้นมาโรงงานก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หรือวางแผนเข้าไปจัดการได้อย่างแม่นยำอีกด้วยนะครับ

ตัวอย่างการเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Real-Time Monitoring
@Credited Murata

6. ความยืดหยุ่นและการความสามารถในการปรับแต่ง (Flexibility and Customization)

โรงงานอัจฉริยะได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของโรงงาน โดยข้อดีคือ สามารถตอบสนองความต้องการการผลิตที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้สามารถปรับแต่งและปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามนโยบาย หรือกลยุทธ์ต่างๆของบริษัทนั้นๆได้ ซึ่งไม่ต้องพึ่ง Platform ที่ไม่สามารถปรับแต่งได้เหมือนแต่ก่อนแล้วด้วยนะครับ

บทสรุปและเป้าหมาย

เป้าหมายโดยรวมของโรงงานอัจฉริยะ คือ การสร้างโรงงานที่สามารถสร้างการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ,คล่องตัว และตอบสนองรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิต คุณภาพ การลดต้นทุนโดยรวม และสุดท้ายคือความสามารถในการแข่งขัน ในขณะเดียวกันก็สามารถช่วยในแง่ของพลังงานและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงและข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โรงงานอัจฉริยะจึงอยู่ในระดับแนวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 5.0 ซึ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการผลิตจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

==================================================

สำหรับบทความนี้ต้องขอขอบคุณ Sponsor ใจดีจากทางบริษัท Murauta นะครับ 

ซึ่งทาง Murata เองก็มี Wireless sensor หลายแบบให้เพื่อนได้ ลองเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น Temperature & Humidity sensor, Vibration sensor, Current sensor และ Analog to digital sensor ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจสามารถติดต่อชื่อ เบอร์โทรและที่อยู่ด้านล่างนี้เลยครับ 

https://solution.murata.com/th-th/service/

หรือติดต่อโดยตรงกับ Murata เพื่อขอข้อมูล หรือขอทดลองตัว demo ได้ฟรีที่โรงงานของเพื่อนๆเลยนะครับ

ติดต่อ

ณพงศ์พัศ ธงชัย (เมฆ)
• วิศวกรฝ่ายขาย
• โทร: 081-132-4462
• อีเมล: [email protected]

คุณธนพร คุณากรเรืองกิจ (พลอย)
• เจ้าหน้าที่บริหารงานขายและการตลาด
• โทร: 063-125-6151
• อีเมล: [email protected]

หรือทาง Line Official Account: @thaimurata

==================================================

#นายช่างมาแชร์ #AnalogSensor #Murata #4.20mA #IoT #Instrument

naichangmashare
Digital Media ที่นำเสนอความรู้ข่าวสารด้านงานวิศวกรรม เทคโนโลยีการผลิต ระบบออโตเมชัน โรบอต 3D การเพิ่มผลการผลิต สมาร์ทโลจิสติกส์ รีวิวสินค้าอุตสาหกรรม

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่