สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ จากที่ทราบกันแล้วว่าสาเหตุรอยร้าวของโครงสร้างคอนกรีตได้แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 4 ประเภท ซึ่งใน EP.1 ได้อธิบายเกี่ยวกับรอยร้าว 2 ประเภทแรกไปแล้ว ได้แก่ 1.รอยร้าวเกิดจากคุณภาพวัสดุและฝีมือการทำงานที่ไม่ดี และ 2.รอยร้าวเกิดจากเสื่อมสภาพของวัสดุ ดังนั้นวันนี้จะมาแชร์เนื้อหาความรู้รอยร้าวอีก 2 ประเภทที่เหลืออยู่ ไปติดตามกันเลยค่ะ
สาเหตุรอยร้าวของโครงสร้างคอนกรีต แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
ประเภทที่ 1 และ 2 สามารถติดตามได้ใน EP.1 ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนใน EP.2 นี้กล่าวถึงรอยร้าวของ 2 ประเภทสุดท้าย ได้แก่ 3.รอยร้าวเกิดจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง และ 4.รอยร้าวเกิดจากฐานรากทรุดตัว
3. รอยร้าวเกิดจากโครงสร้างรบน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง
โครงสร้างจะแอ่นตัวและส่งผลให้เกิดรอยร้าว การที่โครงสร้างรับน้ำหนักไม่ได้นั้นเกิดจากสาเหตุดังนี้
1.หน้าตัดของโครงสร้างที่มีขนาดเล็กเกินไป
2.เหล็กเสริมในโครงสร้างผิดทิศทางจากที่ควรจะเป็น 3.การใช้งานที่ผิดประเภท หรือใช้งานจนน้ำหนักบรรทุกมากเกินกว่าที่ออกแบบไว้
3.การใช้งานที่ผิดประเภท หรือใช้งานจนน้ำหนักบรรทุกมากเกินกว่าที่ออกแบบไว้
3.1 รอยแตกพื้น
พื้นที่รับน้ำหนักไม่ได้จะเกิดการแอ่นตัว ตำแหน่งที่พบร้อยร้าวจะเป็นที่ขอบพื้นใกล้คานหรือเหนือคาน ลักษณะของรอยแตกจะเป็นเส้นยาวขนานกับความยาวของคาน เมื่อพื้นแอ่นตัวมากจะทำให้พบรอยแตกโดยรอบทั้ง 4 ด้าน นอกนั้นอาจพบเห็นรอยแตกทแยงใต้ท้องพื้นจากมุมเสาวิ่งเข้าหากลางพื้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่มุมใดมุมหนึ่ง
ส่วนในกรณีพื้นสำเร็จรูปที่วางพาดปลายบนคานแล้วเทคอนกรีตปิดผิวบนนั้น หากไม่วางเหล็กรับแรงดึงที่ด้านบนของคานตรงตำแหน่งที่นำพื้นสำเร็จรูปมาวางพาด จะเกิดรอยแตกยาวที่คอนกรีตปิดผิวบริดวณเหนือคาน รอยแตกจะวิ่งยาวขนานความยาวคานในลักษณะเช่นเดียวกัน และเมื่อโครงสร้างรับน้ำหนักไม่ไหวจะส่งผลกระทบต่อผนังทำให้ผนังเกิดรอยร้าวได้ค่ะ
– รอยแตกที่ผนังใต้ท้องคานบน
เป็นรอยแตกแนวนอนที่ผนังบริเวณใต้ท้องคานเหนือผนัง ความกว้างของรอยแตกจะอยู่บริเวณช่วงกลางของความยาว รอยแตกอาจมีหลายรอยขนานกัน สาเหตุ เกิดจากคานใต้ผนังแอ่นตัวมากเกินไปทำให้ผนังที่วางอยู่ถูกดึงลง
– รอยแตกแนวดิ่งกลางผนัง
- ลักษณะของรอยแตกอยู่ในแนวดิ่งแตกยาวจากบนลงล่าง
สาเหตุ เท่าที่เคยพบรอยแตกประเภทนี้เกิดจากคานเหนือผนังแอ่นตัวลงมากดทับจนแตกร้าว