Site icon นายช่างมาแชร์

[ เชื้อราในเครื่องปรับอากาศ ] – ภัยร้ายใกล้ตัวคุณที่คุณคาดไม่ถึง

สวัสดีครับเพื่อนๆ หลังจากช่วงโควิท-19 การเข้าถึงของช่างแอร์ หรือการล้างแอร์ ของหลายๆบ้าน และหลายๆโรงงานก็ถูกเลื่อนออกไปทำให้แอร์ของเราสกปรกมากกว่าเดิม

แต่เพื่อนๆรู้มั้ยครับว่า ไอเจ้าแอร์ที่เราเปิดอยู่ทุกวันเนี่ย นานๆไปแล้ว มันจะก่อเชื้อราขึ้นมาในระบบ เมื่อลมแอร์พัดมาหาเรา เราก็สูดดมเชื้อรานั้นเข้าไปสบายปอดเลยครับผม และวิธีการล้างแบบธรรมดาก็เอาเจ้าเชื้อราตัวนี้ไม่ค่อยจะออกซะด้วยสิ

งั้นวันนี้ทางนายช่าง ขอมาแชร์เรื่องเชื้อราในเครื่องปรับอากาศ และวิธีป้องกันละกันนะครับ

มาทำความรู้จักเชื้อรากันครับ

เชื้อรา (Fungi)เป็นพืชที่สามารถอยู่ได้ทั้งในน้ํา บนดิน หรือ ในอากาศ มีหลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ เห็ดก็เป็นเชื้อราประเภทหนึ่ง แต่ที่เกิดปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อบุคคล เช่นทําให้เกิดโรคทางเดินหายใจ

โรคผิวหนังบางชนิด เช่น หูด หรือ โรคภายในร่างกาย เช่น ตับ เป็นมะเร็งจากสารอัลฟาท็อกซินจากเชื้อราในอาหาร และยังก่อให้เกิดปัญหาในการผลิต จากการเกิดเชื้อราในอาหาร ตลอดจนถึงทําให้อาคารเกิดเปลี่ยนสี

โดยเฉพาะตามผนังอาคาร หรือ เกิดกลิ่นเหม็นอับในอาคารและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ติดตามกันมา การออกแบบระบบปรับอากาศที่ดีก็มีส่วนช่วยลดการก่อตัวของเชื้อราในอาคาร

ธรรมชาติของเชื้อราเชื้อรา เป็นพืช ชนิดหนึ่ง มีการขยายพันธุ์ทั้งแบบต่างเพศหรือไม่มีเพศ โดยการแบ่งตัวแบบแตกหน่อ แยกเซลล์หรือการสร้างสปอร์ เชื้อราจะมีผนังเซลล์ที่แข็ง และมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรียหรือไวรัสมาก โดยมีขนาด 10 ไมครอนหรือใหญ่กว่า

เชื้อรามีรูปร่างหลายแบบ ทั้งแบบกลมรี ที่เรียกว่า “ส่า”(ยีสต์ Yeast) หรือมีลักษณะเป็นเส้นยาว ที่เรียกว่า เชื้อราเส้นสาย (Mold, Mould) เชื้อรามีขนาดใหญ่กว่า แบคทีเรียถึง 10 เท่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ขยายประมาณ 100 ในการส่องให้เห็นการดําารงชีวิตของเชื้อราต่างจากแบคทีเรียหรือไวรัส ตรงที่เชื้อราสามารถแขวนลอยในอากาศในรูปแบบของสปอร์โดยไม่ต้องเกาะกับสิ่งใด

ซึ่งต่างจากแบคทีเรียหรือไวรัสตรงที่ธรรมชาติของแบคทีเรียหรือไวรัสนั้นเป็นกาฝาก (Parasite) ซึ่งต้องมีสิ่งยึดเกาะหรือ Host โดยสิ่งที่ถูกยึดเกาะนั้นสามารถเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิต และมีขนาดใหญ่กว่าตัวมันเอง ซึ่ง EU GMP พบว่าขนาดอนุภาคฝุ่นที่เหมาะแก่การเกาะของเชื้อจุลินทรีย์ (Viable) อยู่ที่ 5 ไมครอนหรือใหญ่กว่า ดังนั้นจึงได้กําาหนดให้ยาประเภท Sterile ซึ่งอยู่ในประเภท A จะต้องผลิตภายใต้ห้องสะอาด     ระดับไม่ต่ําากว่า ISO Class 5 ซึ่งไม่ให้มีฝุ่นขนาด 5 ไมครอนในห้อง หรือ มี 0 อนุภาค

โรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา

หากผู้ป่วยสูดอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อราเป็นระยะเวลานาน จะทําให้เกิดเป็นโรคหอบหืด จาม ไข้ละอองฟาง แน่นหน้าอก คัดจมูก จาม ระคายเคืองนัยน์ตา เจ็บคอ หรือ เมื่อผิวหนังอยู่ในสภาพเปียกชื้นเป็นเวลานาน อาจทําาเกิดโรคน้ํากัดเท้าจากรา โรคหูดในใต้ร่มผ้า โรคกลากเกลื้อน เป็นต้น

ขนาดของปัญหาการเกิดเชื้อรา หน่วยงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของอเมริกา (EPA – United States Environmental Protection Agency) ได้กําหนดระดับความรุนแรงของปัญหาเชื้อราในอาคารโดยกําหนดจากพื้นผิวของส่วนต่างๆ ในอาคารที่เกิดเชื้อราขึ้นเป็น 3 ระดับ คือ

รุนแรงน้อย      – เกิดเชื้อราที่พื้นผิววัสดุเป็นบริเวณผืนเดียวไม่เกิน 10 ตารางฟุต

แรงปานกลาง   – เกิดเชื้อราที่พื้นผิววัสดุเป็นบริเวณผืนเดียวไม่เกิน 10 – 100 ตารางฟุต

รุนแรงมาก       – เกิดเชื้อราที่พื้นผิววัสดุเป็นบริเวณผืนเดียวกินพื้นที่มากกว่า 100 ตารางฟุต

การเกิดขึ้นของเชื้อราในระบบปรับอากาศ

เชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ตามอุปกรณ์ต่างๆของระบบปรับอากาศที่เกิดความชื้นขึ้น และ ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่จัดการแก้ไขเป็นเวลานานเกินกว่า 48 ชั่วโมง เช่นตามแนวท่อน้ําเย็นที่ฉนวนเกิดแตกหรือฉีกขาด ทําาให้เกิดการควบแน่นของไอน้ําที่ผิวท่อ

ตามขดท่อน้ําเย็น (Cooling Coil)โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างใกล้ถาดน้ําทิ้งขดท่อน้ําเย็น -การควบแน่นของหยดน้ําที่ผนังห้อง ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิต่างระหว่างห้องสูงและเป็นผนังคอนกรีต เช่นห้องเก็บรักษายา ซึ่งมีอุณหภูมิห้องไม่เกิน 22-25 องศาเซลเซียส กับห้องข้างเคียงที่

เป็นห้องอุณหภูมิปกติความเย็นที่ผนังจะต่ําและเมื่อต่ํากว่าจุดควบแน่น (Dew Point) ก็จะมีหยดน้ํามาเกาะที่ผนังอยู่ตลอด ทําให้เกิดเชื้อรา แก้ไขโดยการใช้ฉนวนปิดตลอดแนวผนังภายในห้องที่มีอุณหภูมิต่ําและเพื่อเป็นการลดการสูญเสียความเย็นหรือพลังงานในระยะยาว

ตามแนวกระจกหน้าต่าง ซึ่งเกิดการควบแน่นที่ผิวกระจกด้านนอกของไอน้ําาเมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ําากว่าภายนอกมาก การควบแน่นของไอน้ํา  ตามหน้ากากจ่ายลม โดยเฉพาะชนิดกระจายสี่ทิศ ซึ่งจะทําาให้เกิดกระแสลมแปรปรวน เชื้อราเกิดขึ้นที่หน้ากากจ่ายลม และลักษณะกระแสลมแปรปรวนที่หน้ากากจ่ายลม ตามผนังด้านนอกของท่อลมจ่ายลมเย็น เนื่องจากอุณหภูมิภายในและภายนอกท่อลมต่างกัน

โดยสรุป เชื้อราสามารถก่อตัวได้ในจุดต่างๆ ของระบบปรับอากาศ โดยเฉพาะในที่ที่เกิดความชื้น และมีอุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต มีอาหารของเชื้อเกาะอยู่และที่สําาคัญคือ มีสปอร์ของเชื้อรามาเกาะ เป็นระยะเวลานานกว่า 48 ชั่วโมง

การสังเกตุเชื้อราในแอร์ของเรา

กล่าวถึงเครื่องปรับอากาศที่เรานั้นรู้จักกันดีครับ ใครจะรู้และเข้าใจว่า เครื่องปรับอากาศนี้ที่ทำให้เราเย็น สบาย ดูดเชื้อโรค ดูดฝุ่น และจะทำให้บรรยากาศดีขึ้นในช่วงหน้าร้อนอย่างนี้ อาจจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคชั้นดี บทความนี้มีวิธีสังเกตและป้องกันเชื้อโรคเหล่านี้มาให้เป็นความรู้

สังเกตเลยว่าเวลาเรานั้นได้เปิดแอร์ จะมีกลิ่นอับชื้นมาพร้อมกับลมเย็นหรือไม่ หากมีกลิ่นอับชื้นที่มากับลมเย็นเมื่อตอนที่เรานั้นเปิดแอร์ นั่นก็คือสัญญาณแสดงว่าเครื่องปรับอากาศที่เราใช้นั้นมีเชื้อโรคสะสมอยู่ในเครื่องปรับอากาศของเราแน่นอน เพราะกลิ่นอับชื้นเหล่านี้ มักมีต้นตอมาจากเชื้อโรคที่สะสมและออกมาจากช่องระบายความเย็น และแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Pure Clean การทำความสะอากเชื้อราภายในแอร์ขอเราด้วยระบบ O2 มั่นใจได้ว่าเชื้อราตายหมดแน่นอน

หากสนใจผลิตภัณฑ์ และบริการติดต่อได้ที่ www.gbs.co.th

แล้วพบกับสาระดีๆทางด้าน งานช่าง งานวิศวกรรม และงานอุตสาหกรรม แบบนี้ได้ในเพจนายช่างมาแชร์นะครับ

Website: www.naichangmashare.com
Facebook: https://www.facebook.com/naichangmashare/
Blockdit :  https://www.blockdit.com/naichangmashare
Instragram: https://www.instagram.com/naichangmashare/
Twitter: https://twitter.com/naichangmashare
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCmIPiSeg-uy4k8JYSmknp_g

#นายช่างมาแชร์

Exit mobile version